วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

A living ancient City : NAN





A living ancient City


Nan is an ancient city that hides a rich lifestyle that’s
woven into the beauty of the mountains and forests which constantly generates
fresh air. The lifestyle of the locals and the diverse cultures on the different
tribes from the colors of Nan. The artwork, handicraft, and unique
Northern-Thai style of the houses including the architecture of the temples
reflecting the admirable culture of the Nan people, especially that which had
been preserved so well in the city.

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

การทำความสะอาดผิวด้วยน้ำ

การทำความสะอาดผิวด้วยน้ำ

น้ำจัดว่า เป็นสารทำความสะอาดที่ง่ายที่สุด แต่พบว่า น้ำไม่มีคุณสมบัติในการทำให้เปียก (Wetting Effect) ที่ดีต่อผิว สังเกตได้จากหลังอาบน้ำ มักจะมีหยดน้ำเกาะอยู่ตามผิวหนัง เพราะผิวหนังมีสารคีราติน ซึ่งไม่ค่อยเปียกน้ำ ดังนั้น จึงมีการเติมสารบางอย่างลงไปในน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดผิว ได้แก่
  1. แอลกอฮอล์ นิยมใช้เอธิลแอลกอฮอลและไอโซโพพิลแอลกอฮอล์ และการผสมแอลกอฮอล์จำนวนร้อยละ ๒๐-๔๐ ในน้ำ จะช่วยทำหน้าที่

           1.1 ลดแรงตึงผิว และแรงตึงระหว่างผิวของน้ำกับผิวหนังให้เปียกน้ำดีขึ้น
           1.2 มีประสิทธิภาพในการขจัดไขมันอย่างอ่อน
           1.3 มีประสิทธิภาพลำลายน้ำหอมที่ใช้แต่งกลิ่น
           1.4 มีฤทธิ์ฝาดสมานและฆ่าเชื้ออย่างอ่อน
    
   2. สารลดแรงตึงผิว ช่วยเพิ่มอำนาจการทำความสะอาดได้ดีกว่าแอลกอฮอล์ ซึ่งขจัดสิ่งสกปรกและฝุ่นได้ดี เป็นการ เพิ่มอำนาจการทำให้เปียกต่อผิว ป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกย้อนกลับคืนสู่ผิวได้อีก แรงตึงผิวที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปได้แก่ สบู่ สบู่เป็นสารผสมของเกลือโซเดียมของกรดไขมันหลายตัว เป็นสารที่ต้องใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เมื่อสบู่ทำปฏิกิริยากับด่างในสารละลายน้ำ ทำให้เกิดสภาวะเป็นด่าง มีค่าพี-เอชระหว่าง ๙.๕-๑๐.๘ แต่ผิวหนังของคนเรามีค่าพีเอชเป็นกรด คือ ๕ ดังนั้น การล้างหน้าด้วยสบู่จึงทำให้สภาพผิวเกิดความเป็นด่างชั่วคราว ถ้าล้างออกด้วยน้ำจะหยุดสภาพความเป็นด่าง จากนั้น สภาพผิวจะกลับสู่สภาพความเป็นกรดภายใน ๓๐ นาที ซึ่งการใช้สบู่กับน้ำกระด้าง จะทำให้เกิดตะกอนแคลเซียมและแมกนีเซียมติดบนผิว อันเป็นบ่อเกิดของสิวเสี้ยน และพบว่า ตะกอนของเกลือแคลเซียมจะส่งเสริมให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปในต่อมไขมันและทำให้อักเสบได้

สอบถามสบู่แก้มใสไร้สิวเพิ่มเติมที่ 0816518088

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

หลักการเบื้องต้นในการดูแลรักษาผิวตามสภาพผิวหนัง

หลักการเบื้องต้นในการดูแลรักษาผิวตามสภาพผิวหนัง

ลักษณะผิวประเภทต่าง ๆ

1. ผิวธรรมดา (Normal Skin) 

  • เป็นลักษณะผิวที่หาได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนเมือง
  • ลักษณะผิว สะอาด เนียนนุ่ม เต่งตึง ไม่มัน ไม่มีริ้วรอย เนื้อเยื่อชั้นหนังกำพร้าจะมีความหนาพอดีไม่บางหรือหนาเกินไป มีความยืดหยุ่นดี เนื้อผิวชุ่มชื้น น่าสัมผัส

2. ผิวแห้ง (Dry Skin)

  • ลักษณะผิว ผิวชั้นนอกบางเห็นเส้นเลือดแดงเรื่อ ๆ เนื้อผิวแตกเป็นเกล็ดขุยลอกออกเป็นคราบ มีอาการคันร่วมด้วย เกิดริ้วรอยได้ง่าย จะรู้สึกแน่นตึงบนผิวหน้าโดยเฉพาะหลังจากล้างหน้าเสร็จใหม่ ๆ ผิวเช่นนี้จะเกิดอาการแพ้ได้ง่าย
  • ข้อแนะนำ ล้างหน้า สมานผิวและบำรุงผิวทุกวัน
  • สาเหตุ
    • ต่อมน้ำมันผลิตไขมันออกมาน้อย
    • ต่อมเหงื่อขับน้ำออกมาน้อย
    • ใช้สบู่ที่มีคุณสมบัติในการชะล้างที่แรง น้ำหล่อเลี้ยงจึงถูกกำจัดด้วย ทำให้ขาดความชุ่มชื้น
    • ขาดวิตามินซี
    • อยู่ในที่อากาศร้อนมาก
    • ออกแดดโดยไม่ปกป้องผิว
3. ผิวมัน (Oily Skin)

  • ลักษณะผิว ผิวชั้นนอกจะดูหนา เนื้อผิวหยาบ รูขุมขนเปิดกว้าง มีน้ำหล่อเลี้ยงผิวอยู่มาก ผิวไม่เรียบ เนื่องจาก การอุดตันของไขมันและสิว
  • ข้อแนะนำ ทำความสะอาด สมานผิวด้วยโลชั่นสมานผิวสำหรับผิวมันโดยเฉพาะ เพื่อหยุดยั้งการทำงานของต่อมไขมันไม่ให้ผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป รับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ เนื้อที่ไม่ติดมัน ปลา และดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ
  • สาเหตุ
    • ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป
    • ระบบการเผาผลาญอาหารไม่ดี
4. ผิวผสม (Combination Skin)

  • ลักษณะผิว โดยรวมจะเป็นผิวแห้ง ผิวธรรมดา และผิวมันเข้าด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสภาพผิวบริเวณนั้น ๆ ว่าเป็นผิวอะไร เช่น บริเวณทีโซน มักจะมัน บริเวณแก้ม รอบดวงตา คอเป็นผิวธรรมดา
ข้อแนะนำ ควรดูแลสภาพผิวพรรณให้เหมาะสมกับลักษณะผิวบริเวณนั้น ๆ


การระคายเคืองและการแพ้ของผิว


ผิวทั้ง 4 ชนิดมีสิทธิแพ้ได้ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของผิว เนื่องจาก ผิวหนังเป็นหน้าด่านที่จะต้องเผชิญกับสิ่งต่าง ๆ ที่มาสัมผัสกับร่างกาย ผิวหนังจึงมีกลไกในการต่อต้านสิ่งเหล่านี้เพื่อปกป้องร่างกาย ถ้าสิ่งที่มาสัมผัสไม่รุนแรงผิวหนังอาจจะไม่แสดงอาการออกมา แต่ถ้ามีความรุนแรงกลไกการต้านทานไม่ไหว จะแสดงอาการเกิดขึ้น เช่น บวม (Edema) แดง (Erythema) เป็นเม็ดพุพอง (Blisttering) หดตัว (Shriveling) ไหม้ (Burn) หลุดลอกเป็นสะเก็ด (Desquamation) คันเป็นผื่นแดง (Eczema) อาการเหล่านี้เกิดจากสาเหตุใหญ่ ๆ 2 ประการ คือ การระคายเคือง (Irritation) การแพ้ (Allergy or sensitization)


การระคายเคืองจากเครื่องสำอางมักจะเกิดจากสบู่ที่มีความเป็นด่าง ทำให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผู้ใช้สบู่มีการถูแรง ๆ เพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออก ผิวจะแห้งสากมากขึ้นทำให้เกิดการแพ้สารอื่นตามมาได้ นอกจากนี้ อาจจะทำให้รูขุมขนเกิดการระคายเคืองต่อต่อมไขมัน ทำให้ไขมันอุดตันรูขุมขน ทำให้เกิดสิวตามมา

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

ผิวขาดน้ำ

ผิวขาดน้ำ

ผิวขาดน้ำ เป็นผิวที่ขาดความชุ่มชื้นในชั้นหนังกำพร้า ผิวจะดู หม่นมัว แห้งมาก จะมีอาการคันโดยเฉพาะหลังการล้างหน้า ทั้งนี้ ผิวแห้งจะมีโอกาสเป็นผิวขาดน้ำมากกว่าชนิดอื่น แต่ผิวทุกชนิดก็มีอาการขาดน้ำได้เช่นกัน หากการดูแลและปกป้องไม่ดีพอ

สาเหตุที่ทำให้ผิวขาดน้ำมาจากการที่ไขมันเคลือบผิวถูกทำลาย เนื่องจาก


  1. การใช้สารชำระล้าง ทำความสะอาดผิว (คลีนเซอร์) ที่รุนแรงกับผิว
  2. การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและภูมิอากาศ
  3. การอยู่ในห้องปรับอากาศเป็นเวลานาน
  4. การเผชิญกับรังสี UV
  5. การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  6. ความเครียด เป็นไข้ ขาดการดูแลเอาใจใส่
  7. การปรับสภาพที่ไม่เป็นไปตามสิ่งแวดล้อม
  8. ดื่มน้ำน้อย
  9. อดทน

การดูแลแก้ไขผิวขาดน้ำ                  

  1.        การคืนความชุ่มชื้นให้กับผิว โดยเลือกใช้สารชำระล้าง คลีนเซอร์ที่อ่อนโยต่อผิวพรรณ
  2.        ดื่มน้ำไม่ต่ำกว่า 7-8 แก้ว โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในห้องปรับอากาศเป็นประจำ
  3.        หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  4.        ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
   ภาพจากอินเตอร์เน็ต
    Website : http://yanincosmetic.com
  


วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

“ภัยร้าย” ใกล้ตัวของสาว ๆ Working Woman

“ภัยร้าย” ใกล้ตัวของสาว ๆ Working Woman

Working Syndrome โรคที่น่าสนใจอย่างหนึ่งที่ใครหลายคนยังไม่รู้จัก แต่เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มคนวัยทำงานออฟฟิต โดยเฉพาะคนที่ทำงานหนัก ไม่มีเวลาพักผ่อน หลายรายมารู้ตัวอีกทีก็แก้ปัญหาไม่ทันแล้ว เราเรียกโรคนี้อีกอย่างว่า “ออฟฟิตซินโดรม”

เนื่องจาก จากการวิจัยพบว่า มีพนักงานออฟฟิตจำนวนไม่น้อยที่ต้องเข้าปรึกษาแพทย์ด้วยอาการต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง ปวดบริเวณคอบ่าไหล่ รวมถึงปวดศีรษะ โดยเฉพาะคนทำงานในช่วงอายุตั้งแต่ 24 ปีขึ้นไป ซึ่งทั้งหมดนี้แพทย์ระบุว่า เป็นอาการเชื่อมโยงที่มาจาก โรคออฟฟิตซินโดรม

สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดโรคนี้ ก็เนื่องมาจาก การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำงานไม่เหมาะสม การทำงานหนัก ประกอบกับอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสม นั่งหลังค่อม นั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานสูงกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน ข้อมือ นิ้ว ทั้งนี้ การกดแป้นคีย์บอร์ดซ้ำ ๆ โดยที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็น รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา เกิดอาการชาบริเวณนิ้วและข้อมือขึ้นได้ หรือบางรายที่เคยมีอาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่ด้วย หากบวกกับโรคนี้แล้ว ยิ่งจะทำให้มีอาการปวดรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่า สาเหตุรองลงมาของโรคออฟฟิตซินโดรมก็คือ ความเครียดที่ส่งผลต่อภาวะออฟฟิตซินโดรมถึงร้อยละ 80 เลยทีเดียว

การแก้ไขเบื้องต้นที่ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองก็คือ
  • ปรับเปลี่ยนอิริยาบถท่านั่งทำงานบ่อย ๆ รวมทั้งเปลี่ยนลักษณะท่านั่งให้เหมาะสม เช่น นั่งให้เต็มก้น พิงพนักเก้าอี้ในท่าที่สบาย
  • หาหมอนรองหลังพิงพนักเก้าอี้ เพื่อให้หลังไม่ค่อมเวลานั่งทำงานนาน ๆ
  • จัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อความสะอวดต่อการเคลื่อนไหวในการหยิบสิ่งของต่าง ๆ
  • พยายามวางของที่ใช้บ่อย ๆ ให้อยู่ด้านซ้ายของโต๊ะ เพื่อหยิบจับได้สะดวก
  • ขนาดโต๊ะทำงานควรมีระดับที่พอดีกับข้อศอก เพื่อให้สามารถกดคีย์บอร์ดได้อย่างถนัด
  • แป้นคีย์บอร์ดควรมีที่รองรับข้อมือด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระดกข้อมือซ้ำ ๆ
  • ปรับเก้าอี้ขึ้นลงตามความเหมาะสม และควรเป็นเก้าอี้ที่มีพนักพิง ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกเก้าอี้ที่สามารถรองรับศีรษะได้ด้วย
  • เลือกจอคอมพิวเตอร์แบบ LCD หรือจอแบน เนื่องจาก การสำหรับพบว่า จอแบบ CRT หรือจอลักษณะโค้งมน จะทำให้ผู้ใช้เกิดการเพ่งสายตา และปวดศีรษะมากกว่าการใช้จอแบบ LCD
  • พักสายตาทุก  ๆ 20 นาที และควรจัดจอภาพคอมพิวเตอร์ให้ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 15 องศา
  • ปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมสบายตา

อันตรายจากโรคออฟฟิตซินโดรมที่พบบ่อย ๆ ก็คือ สายตาสั้น ตาแห้ง สายตาพร่ามัว ตาปรับภาพได้ช้าลง ผลกระทบที่ส่งตรงต่อสายตานั้นมาจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ทำให้เรากระพริบตาน้อยลง แต่หนังตาเปิดกว้างขึ้น ในขณะเดียวกัน บรรยากาศในที่ทำงานนั้น มักจะมีสภาพอากาศที่แห้ง หรือเมื่อเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ เกินกว่าปกติ ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อตาอักเสบ และต้องใช้การรักษาที่ยาวนานและเป็นอันตรายถึงขั้นตาบอดได้

นอกจากนี้ พนักงานออฟฟิตที่ทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ เช่น กราฟฟิกดีไซน์ โปรแกรมเมอร์ นักวิจัย นักเขียน เป็นต้น ต้องหมั่นหาเวลาพักสายตาบ้าง ไม่ควรเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ๆ อาจออกไปยืดแขนขาสูดอากาศบริสุทธิ์ข้างนอกอาคารบ้าง เข้าห้องน้ำบ้าง เพื่อเป็นการผ่อนคลายและปรับเปลี่ยนอิริยาบถไปในตัว

ภาพจากอินเตอร์เน็ต