“ภัยร้าย” ใกล้ตัวของสาว ๆ Working
Woman
Working Syndrome โรคที่น่าสนใจอย่างหนึ่งที่ใครหลายคนยังไม่รู้จัก
แต่เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มคนวัยทำงานออฟฟิต โดยเฉพาะคนที่ทำงานหนัก
ไม่มีเวลาพักผ่อน หลายรายมารู้ตัวอีกทีก็แก้ปัญหาไม่ทันแล้ว
เราเรียกโรคนี้อีกอย่างว่า “ออฟฟิตซินโดรม”
เนื่องจาก จากการวิจัยพบว่า
มีพนักงานออฟฟิตจำนวนไม่น้อยที่ต้องเข้าปรึกษาแพทย์ด้วยอาการต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง
ปวดบริเวณคอบ่าไหล่ รวมถึงปวดศีรษะ โดยเฉพาะคนทำงานในช่วงอายุตั้งแต่ 24 ปีขึ้นไป
ซึ่งทั้งหมดนี้แพทย์ระบุว่า เป็นอาการเชื่อมโยงที่มาจาก โรคออฟฟิตซินโดรม
สาเหตุหลัก ๆ
ที่ทำให้เกิดโรคนี้ ก็เนื่องมาจาก การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำงานไม่เหมาะสม
การทำงานหนัก ประกอบกับอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสม นั่งหลังค่อม
นั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย
การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานสูงกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ
ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน
ข้อมือ นิ้ว ทั้งนี้ การกดแป้นคีย์บอร์ดซ้ำ ๆ
โดยที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็น
รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา เกิดอาการชาบริเวณนิ้วและข้อมือขึ้นได้
หรือบางรายที่เคยมีอาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่ด้วย หากบวกกับโรคนี้แล้ว
ยิ่งจะทำให้มีอาการปวดรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่า
สาเหตุรองลงมาของโรคออฟฟิตซินโดรมก็คือ ความเครียดที่ส่งผลต่อภาวะออฟฟิตซินโดรมถึงร้อยละ
80 เลยทีเดียว
การแก้ไขเบื้องต้นที่ทำได้ง่าย ๆ
ด้วยตัวเองก็คือ
- ปรับเปลี่ยนอิริยาบถท่านั่งทำงานบ่อย ๆ รวมทั้งเปลี่ยนลักษณะท่านั่งให้เหมาะสม เช่น นั่งให้เต็มก้น พิงพนักเก้าอี้ในท่าที่สบาย
- หาหมอนรองหลังพิงพนักเก้าอี้ เพื่อให้หลังไม่ค่อมเวลานั่งทำงานนาน ๆ
- จัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อความสะอวดต่อการเคลื่อนไหวในการหยิบสิ่งของต่าง ๆ
- พยายามวางของที่ใช้บ่อย ๆ ให้อยู่ด้านซ้ายของโต๊ะ เพื่อหยิบจับได้สะดวก
- ขนาดโต๊ะทำงานควรมีระดับที่พอดีกับข้อศอก เพื่อให้สามารถกดคีย์บอร์ดได้อย่างถนัด
- แป้นคีย์บอร์ดควรมีที่รองรับข้อมือด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระดกข้อมือซ้ำ ๆ
- ปรับเก้าอี้ขึ้นลงตามความเหมาะสม และควรเป็นเก้าอี้ที่มีพนักพิง ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกเก้าอี้ที่สามารถรองรับศีรษะได้ด้วย
- เลือกจอคอมพิวเตอร์แบบ LCD หรือจอแบน เนื่องจาก การสำหรับพบว่า จอแบบ CRT หรือจอลักษณะโค้งมน จะทำให้ผู้ใช้เกิดการเพ่งสายตา และปวดศีรษะมากกว่าการใช้จอแบบ LCD
- พักสายตาทุก ๆ 20 นาที และควรจัดจอภาพคอมพิวเตอร์ให้ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 15 องศา
- ปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมสบายตา
อันตรายจากโรคออฟฟิตซินโดรมที่พบบ่อย ๆ ก็คือ
สายตาสั้น ตาแห้ง สายตาพร่ามัว ตาปรับภาพได้ช้าลง
ผลกระทบที่ส่งตรงต่อสายตานั้นมาจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ
ทำให้เรากระพริบตาน้อยลง แต่หนังตาเปิดกว้างขึ้น ในขณะเดียวกัน บรรยากาศในที่ทำงานนั้น
มักจะมีสภาพอากาศที่แห้ง หรือเมื่อเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ เกินกว่าปกติ
ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อตาอักเสบ
และต้องใช้การรักษาที่ยาวนานและเป็นอันตรายถึงขั้นตาบอดได้
นอกจากนี้ พนักงานออฟฟิตที่ทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
ๆ เช่น กราฟฟิกดีไซน์ โปรแกรมเมอร์ นักวิจัย นักเขียน เป็นต้น
ต้องหมั่นหาเวลาพักสายตาบ้าง ไม่ควรเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
ๆ อาจออกไปยืดแขนขาสูดอากาศบริสุทธิ์ข้างนอกอาคารบ้าง เข้าห้องน้ำบ้าง
เพื่อเป็นการผ่อนคลายและปรับเปลี่ยนอิริยาบถไปในตัว
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น