ตำแหน่งที่สำคัญสำหรับสุขภาพจิตใจ คือ
วิธีที่เราจัดการกับความเครียด ในหลาย ๆ การศึกษาแสดงให้เห็นว่า
วิธีที่เรารับมือกับเหตุการณ์ตึงเครียดในชีวิตมีผลอย่างมากต่อสุขภาพผิว และสุขภาพกาย
ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียอย่างฉับพลันหรืออาการช็อกอย่างเช่นการสูญเสียคนในครอบครัว การสูญเสียคนรัก
หรือการถูกรางวัลลอตเตอรี่ ก็สามารถทำให้ “อะดรีนาลีน” (Adrenaline) ไหลเวียนอย่างรวดเร็ว
ซึ่งจะทำให้หัวใจไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จนอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
หรือมีอาการหัวใจวาย และความเครียดที่เกิดจากการหย่าร้าง ความขัดแย้งกับสมาชิกในบ้านหรือที่ทำงาน
และยังรวมถึงความเครียดในชีวิตประจำวัน เช่น นั่งในรถขณะที่การจราจรติดขัด เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียด
คือ “คอร์ติซอล” (cortisol) ทำให้ต่อมไขมันทำงานมากขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้มีผลทำให้ผิวมันสิว และโรคผิวหนังอื่น ๆ
ระบบจิตใจต่อเชื่อมเข้ากับร่างกาย
ในเวลาที่เราต้องรับมือกับความเครียด เรียกว่า “ระบบประสาทต่อมไร้ท่อ”
(neuroendocrine system) สารเคมีประสาทที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความเครียด
สัมพันธ์กับโรคร้ายแรงหลายโรค การที่ร่างกายต้องเผชิญกับสารเคมีประสาทเหล่านี้มากเกินไป
เช่น คอร์ติซอล เอพิเนฟริน และนอร์เอพิเนฟริน ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันตกต่ำ
ทำให้ภูมิต้านทานต่อแบคทีเรียหรือไวรัสลดลง หรืออาจส่งผลถึงโรคร้ายแรงอื่น ๆ
ที่เกี่ยวกับความเสื่อมโทรมของร่างกาย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิต
และมะเร็ง ซึ่งล้วนเป็นโรคที่เดิมเคยเชื่อว่า “เกิดจากความชรา”
สิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดได้มาจากหลายแหล่ง เช่น
ทางกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ความเครียดจากสิ่งแวดล้อมที่เราต้องเผชิญทุกวัน
เช่น มลพิษทางเสียง ข้อมูลต่าง ๆ ที่หลั่งไหลเข้าสู่สมอง
การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว และเวลาที่ไม่เคยเพียงพอ
แต่สิ่งสำคัญกว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด คือ
ปฏิกิริยาของเราที่ตอบสนองต่อความเครียดซึ่งส่งผลถึงสุขภาพที่แตกต่างกันในแต่ละคน
ปฏิกิริยาการตอบสนองของเรานั้นขึ้นกับความเชื่อ การให้ความสำคัญ ทัศนคติ
ประสบการณ์ในอดีต และบุคลิกภาพลักษณะการตอบสนองต่อความเครียดอาจดี หรือไม่ดีต่อสุขภาพ
แม้แต่โรคที่เกิดจากความเครียด เราก็สามารถต่อสู้กับมันด้วยทัศนคติที่คิดบวก
และความสามารถในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
นักวิจัยได้สิ่งที่อาจเรียกได้ว่า
บุคลิกภาพที่ทนทานต่อความเครียด คือ ทัศนคติบางอย่าง และลักษณะพฤติกรรมบางประเภทที่ช่วยให้บางคนรับมือกับความเครียดได้ดีกว่าคนอื่น
ผู้ที่ทนทานกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มักมองชีวิตในแง่ดี ควบคุมจิตใจได้ดี
มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความยืดหยุ่น และไม่ค่อยมีอารมณ์ในทางลบ เช่น ซึมเศร้า
วิตกกังวล ความเป็นปรปักษ์ เห็นแก่ตัว หรือไม่ชอบเข้าสังคม อารมณ์หุนหันพลันแล่น
และความรู้สึกไม่มั่นคง ซึ่งความสามารถในการลุกขึ้นรับมือกับปัญหา
หรือการฟื้นตัวจากความโศกเศร้าในชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสุขภาพที่ดีในยามแก่ชรา
ไม่น่าแปลกใจเลยที่ผู้สูงอายุในต่างจังหวัดหลายคนมีคุณสมบัติดังกล่าว
อนึ่ง ที่กล่าวมาไม่ได้หมายความว่า
ผู้สูงอายุเหล่านี้อยู่กับชีวิตที่ปราศจากความเครียด ในทางตรงกันข้าม เราพบว่า
หลายครั้งที่พวกเขาฟื้นตัวจากความหายนะ และความสูญเสีย เช่น ความยากจน การกดขี่ อุทกภัย
ภัยพิบัติ และอุปสรรคในชีวิตด้วยความสามารถในการปรับตัวที่สูงอย่างน่าอัศจรรย์
เราพบว่า พวกเขามีอารมณ์ในทางลบและความซึมเศร้าน้อย และยังมีการพบปะสังสรรค์ซึ่งเป็นกลไกที่ช่วยคลายเครียดได้มาก
โดยส่วนใหญ่แล้ว ในชีวิตประจำวันพวกเขาไม่เร่งรีบ ถูกรบกวน
หรือกดดันในเรื่องของเวลา พวกเขาจึงมีระดับความเครียดต่ำ และมีความมั่นใจในตัวเอง
และเด็ดเดี่ยว
ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้สามารถรับมือกับความเครียดจากเหตุการณ์สำคัญในชีวิต
เช่น การสูญเสียคนในครอบครัว ปัญหาอุทกภัย ภัยพิบัติต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
สิ่งที่น่าสนใจที่สุด คือ พบว่า
ผู้สูงอายุหลายคนมีความเป็นผู้นำค่อนข้างโดดเด่น ถึงแม้ว่า ระบบวัฒนธรรมของพวกเขาจะให้ความสำคัญกับความอ่อนโยน
สุภาพ นุ่มนวล ง่าย ๆ ผ่อนคลาย ไม่แข็งทื่อ
ซึ่งผู้สูงอายุต่างมีบุคลิกภาพที่แน่วแน่ และมีทัศนคติที่คงความอ่อนเยาว์
และยังเชื่อมั่นว่า “ทำได้” ประเด็นที่สำคัญ คือ พวกเขามองตัวเองว่า
เป็นเสาหลักของครอบครัว
ซึ่งเป็นลักษณะทางวัฒนธรรมที่จัดให้ผู้สูงอายุอยู่ในตำแหน่งที่สูงและเป็นที่เคารพ
ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รู้สึกดีกับตัวเอง
โครงสร้างทางสังคมทั้งหมด ดูจะเข้ากันได้กับจังหวะชีวิตแบบเนิบ
ๆ ที่รู้จักกันว่า “เวลาต่างจังหวัด” การรับรู้เวลาในลักษณะเฉพาะแบบนี้
ส่งผลดีต่อสุขภาพของประชากรทั้งหมด และแน่นอนว่า ไม่เป็นอันตรายกับพวกเขา
หากคิดจะนำมาใช้ โดย “การรับเวลาต่างจังหวัด” เข้าสู่ชีวิตในบางช่วงเวลา
ซึ่งเปรียบได้กับยาที่ช่วยบรรเทาความเครียด ที่เกิดจากเวลาในสังคมปัจจุบันที่เดินเร็วเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น