วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

รื่นรมย์กับอาหารด้วยแนวคิดห้าสี


รื่นรมย์กับอาหารด้วยแนวคิดห้าสี

รื่นรมย์กับอาหารด้วยแนวคิดห้าสี บทความจากผลิตภัณฑ์บำรุง ถนอม และดูแลผิวหน้าญานิน ญานินห่วงใยสุขภาพคนไทย
การรับประทานอาหารเป็นความรื่นรมย์ที่แท้จริงอย่างหนึ่งในชีวิต และคุณควรลิ้มรสความสุขนั้นให้เต็มที่ แต่บ่อยครั้งที่เราไม่ได้รับรู้ถึงรสอาหารแท้จริงที่เรารับประทาน เรามักรับประทานแบบขาดสติในขณะอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ เจรจาธุรกิจ หรือแม้แต่ขณะขับรถ “รีบคว้า รีบเคี้ยว รีบไป” ดูจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในยุคปัจจุบันไปเสียแล้ว บางคนไม่มีแม้แต่เวลาจะเคี้ยวอาหารด้วยซ้ำ ซึ่งไม่ต้องบอกก็คงทราบกันว่า การปฏิบัติตัวเช่นนี้เป็นสิ่งไม่ดี เพราะนอกจากจะเป็นการลดคุณค่าความสำคัญของประสบการณ์การรับประทานอาหารแล้ว การรับประทานอาหารแบบรีบ ๆ เร่ง ๆ ยังไม่ดีต่อสุขภาพและไม่ได้ช่วยให้ผอมลงแต่อย่างใด “อาหาร” ต้องการการบดเคี้ยวอย่างละเอียด จึงจะถูกย่อยได้ดี และหากอาหารไม่ถูกย่อยอย่างสมบูรณ์ ก็จะไม่ได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่
ดังนั้น ถึงเวลาแล้วรึยังที่คุณจะหยุด แล้วใช้เวลาพิจารณาอาหารเบื้องหน้าก่อนเริ่มลงมือรับประทาน คุณควรให้ความสำคัญกับอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และหากเวลาเอื้ออำนวย ก็อาจจัดวางให้สวยงามน่ารับประทาน และนี่คือ ความหมายของ “การรับประทานอาหารอย่างมีสติ” โดยเติมความรื่นรมย์และสนุกสนานให้กับประสบการณ์การรับประทานอาหาร ไม่ว่าคุณจะนั่งรับประทานเงียบ ๆ โดยลำพัง รับประทานอาหารร่วมกับครอบครัวหรือมิตรสหาย หรือแม้แต่ รับประทานอาหารในเทศกาลเฉลิมฉลอง
 พิธีชงชาญี่ปุ่น จากผลิตภัณฑ์บำรุง ถนอมและดูแลผิวหน้าญานิน ญานินห่วงใยสุขภาพคนไทย
หนึ่งในหลายสิ่งที่เราสังเกต และพบเห็นได้จากวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือ ความเอาใจใส่อย่างยิ่งยวดต่อการตระเตรียมและจัดวางอาหาร ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการจัดเรียงอาหาร และใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอน เช่น ประเพณี “ซาโนยุ” (วิถีแห่งชา) เป็นประเพณีในการดื่มน้ำชาชื่อดัง ซึ่งมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ต้องใช้การฝึกฝนนานนับปีจึงจะปฏิบัติได้สมบูรณ์ เราไม่ได้แนะนำให้คุณสละเวลานานนับปีเพื่อฝึกการชงชา แต่เราสามารถนำแนวคิดจากประเพณีชงชา มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยภาพนั้นสำคัญยิ่ง ทุกคนในครอบครัวอาจรับประทานผักและอาหารประเภทเต้าหู้ได้มากขึ้น หากการจัดวางตกแต่งนั้นสวยงาม แทนที่จะเสิร์ฟมันฝรั่งบดกับน้ำเกรวี หรือเปิดกระป๋องถั่วแล้วเทลงชาม เราอาจต้องใช้ศิลปะและความพิถีพิถันในการจัดวางให้มากขึ้น
 แนวคิดอาหาร 5 สี จากผลิตภัณฑ์บำรุง ถนอมผิว และดูแลผิวหน้าญานิน ญานินห่วงใยสุขภาพคนไทย
ในญี่ปุ่นมีคำกล่าวว่า การจัดวางอาหารที่ปราศจากสีสันเปรียบเสมือนการเดินออกจากบ้านโดยไม่ใส่เสื้อผ้า พวกเขารู้สึกว่า “อาหารควรจะดูดี” เช่นเดียวกับกลิ่นและรสชาติที่ดี ดังนั้น จึงอยากนำเสนอแนวคิดสีทั้งห้าจากชาวญี่ปุ่น ซึ่งมีความเป็นเลิศในการนำเสนออาหาร การตกแต่งอาหารให้สวยงามด้วยสีสัน ซึ่งมีปรัชญาความเชื่อในญี่ปุ่น จะเห็นได้ชัดจากประเพณีที่มีชื่อว่า “โซจิน เรียวริ”เป็นธรรมเนียมการจัดเรียงและรับประทานผักในวัดของศาสนาพุทธ จุดประสงค์ของการจัดวาง คือ “ต้องมีให้ครบห้าสีบนโต๊ะอาหาร” สีที่ว่า คือ แดง เหลือง เขียว ขาว และดำ ผลที่ได้ไม่เพียงเป็นภาพอาหารที่สวยงาม แต่ยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย จัดเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสารอาหาร ซึ่งจะมีมากในอาหารแต่ละประเภท
  • สีแดง มาจากกะหล่ำปลีม่วง พริกหยวกแดง พริกชี้ฟ้าที่โรยบนปลา หอมแดง มะเขือเทศ หรืออื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นไปได้
  • สีเหลือง มาจากไข่ ฟักทอง เห็ด ข้าวโพด
  • สีเขียวนั้นมีตัวเลือกนับไม่ถ้วน ผักหรือสมุนไพร สีเขียวใด ๆ ก็นำมาใช้ได้ ผักกาดหอม อะโวคาโด แตงกวา ใบโหระพาวางบนมะเขือเทศหั่นชิ้นหนา ๆ
  • สีขาว อาจใช้หอมหัวใหญ่ เต้าหู้ และอาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว มันฝรั่ง
  • สีดำ อาจมาจากถั่วดำ ซุปพั่วแบล็กอายพี มะกอดดำหั่นบาง หรือนำสาหร่ายแบบแผ่น สาหร่ายป่นมาโรยหน้าบนซุป สลัด หรือการห่อข้าวปั้นไส้ปลาและอะโวคาโด ก็ให้สีสันสวยงามและได้รสชาติอร่อยเช่นกัน

แนวคิดสลัดปลาทูน่า 5 สี จากผลิตภัณฑ์บำรุง ถนอมผิว และดูแลผิวหน้าญานิน ญานินห่วงใยสุขภาพคนไทย
สำหรับแนวคิดห้าสีนี้ ไม่ได้หมายความว่า คุณต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงเพื่อเตรียมอาหารแฟนซี อาจนำไอเดียนี้มาปรับแต่งใช้กับเมนูง่าย เช่น สลัดทูน่า ซึ่งอาจนำผักกาดหอมมาจัดเรียงเป็นรูปถ้วย โรยด้วยมะกอกดำหั่นเป็นแว่น ๆ ตามด้วยพริกหยวกแดง มะเขือเทศ แครอทหั่นเป็นชิ้นลูกเต๋า แค่นี้ก็ได้อาหารตาที่สวยงามเมื่อมีไอเดียแล้ว ก็ต้องลงมือทำกันค่ะ ถือเป็นการแสดงความสามารถทางศิลปะพร้อมเพิ่มสารอาหารในมื้ออาหารไปด้วย เรียกว่า “มีแต่ได้กับได้” หากคุณมีเจ้าตัวน้อย คุณอาจทำให้เกมที่เล่นร่วมกันได้ทั้งครอบครัว เด็ก ๆ มักมีแรงบันดาลใจในการประดับประดาตามรูปแบบของเขาเอง
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น